19/2/61


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ finite verb

Finite and Non-finite verb
คำกริยาในภาษาอังกฤษถ้าแบ่งตามหน้าที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Finite verb (กริยาแท้)
2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้)
1. Finite verb (กริยาแท้)คือ กริยาที่ทำหน้าที่แสดงอาการหรือการกระทำของประธานในประโยค ลองนึกภาพดูว่าในประโยคใดประโยคหนึ่งอาจจะมีคำที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นคำกริยาปรากฎอยู่มากกว่า 1 คำ แต่จะมีกริยาเพียงตัวเดียวที่เป็นกริยาแท้ในประโยค เป็นกริยาของประธานในประโยค   กริยาที่เป็น finite verb จะสามารถผันรูปได้ตาม subject, Tense, mood และ voice เช่น
ผันตาม Tense
  • am not playing game, but I am doing homework.
    (ผันเป็น verb ที่เติม ing ตาม present continuous tense)
  • They have just finished their work.
    (ผันเป็น verb ช่อง 3ตาม present perfect tense)
ผันตาม subject
  • She goes to work by car every day. (ประธานเอกพจน์)
  • Many people like going abroad.   (ประธานพหูพจน์)
ผันตาม voice
  • Sarah told me her secret.   (active voice)
  • was told about this matter many times. (passive voice)
ผันตาม mood
  • I recommended that he see a doctor. (subjunctive mood)    **ไม่ใช่ he sees
2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้) คือ กริยาที่จะไม่ผันตาม tense, subject, mood หรือ voice และจะทำหน้าที่อย่างอื่นในประโยค จะไม่ทำหน้าที่เป็นกริยา   กริยาไม่แท้ในภาษาอังกฤษจะมี 3 ประเภท คือ
2.1 gerund คือ กริยาที่เติม ing (Ving) ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค  เช่น
  • Smoking isn’t allowed here.
  • I try to avoid meeting him.
2.2  to infinitive คือ กริยารูปธรรมดาที่ตามหลัง to ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค เช่น
  • The best way to live happily in the society is to be open-minded.
  • To love is to risk.
2.3 participle คือกริยาที่เติม –ed หรือเป็นกริยาช่อง 3   ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำคุณศัพท์คือขยายประธานในประโยค เช่น
  • Let a sleeping dog lie.
    อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน
    (เป็นสำนวนสุภาษิต หมายถึง อย่าหาเรื่องใส่ตัว )
  • He’s driving a rented car.
    เขากำลังขับรถคันที่เช่ามา
** ในประโยคหนึ่งอาจจะมีกริยาหลายตัว เราจะต้องแยกให้ได้ว่า กริยาใดเป็นกริยาแท้ในประโยคและกริยาใดเป็นกริยาไม่แท้ เพื่อที่เวลาแปลความหมายจะได้ไม่สับสน
  • She wants to know you.
    ในประโยคนี้ กริยาแท้คือ คำว่า wants ซึ่งมีการผันตามประธานที่เป็นเอกพจน์ ส่วน to know เป็นกริยาไม่แท้ ที่เป็น to infinitive
** การรู้จักกริยาแท้และกริยาไม่แท้มีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจกับการอ่านเป็นอย่างมาก เพื่อให้ความเข้าใจในเนื้อเรื่องไม่คลาดเคลื่อนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น